การดื่มน้ำผลไม้ทำให้รู้สึกสดชื่น ดับกระหาย ส่วนคุณค่าทาง โภชนาการจะมีมากน้อยแค่ไหนนั้น เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทุกคนต้องทราบ เพื่อที่จะได้จัดสรรอาหารการกินในแต่ละวันให้เป็นไปอย่างสมดุล และร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหารที่เรากินเข้าไปมากที่สุด แต่ก่อนที่จะไปถึงคำตอบในคำถามที่ตั้งหัวข้อไว้ อยากให้ทำความรู้จักกับน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ กันก่อน
ชนิดของน้ำผลไม้
น้ำผลไม้ที่เราซื้อมาดื่ม ทั้งที่มีขายอยู่นอกห้างและในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีทั้งชนิดคั้นสด บรรจุกล่อง บรรจุขวด ฯลฯ หลากหลายรูปแบบนั้น ความจริงแบ่งได้ เป็น ๒ ประเภทเท่านั้น คือ
๑. น้ำผลไม้สด หมายถึง น้ำผลไม้ที่คั้นสำหรับดื่มสดๆ โดยไม่เติมสารปรุง แต่งใดๆ ทั้งสิ้น อย่างเช่น น้ำส้ม หรือน้ำฝรั่ง ที่คั้นกันสดๆ หรือบรรจุขวดแช่น้ำแข็งขาย
๒. น้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ หมายถึง น้ำผลไม้ที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการถนอมอาหาร โดยใส่สารกันบูด หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ เพื่อยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น ซึ่งน้ำผลไม้ประเภทนี้ก็มีหลายรูปแบบ เช่น
น้ำผลไม้ชนิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ทำจากผลไม้สดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ส้ม ฝรั่ง สับปะรด เป็นต้น โดยไม่ เติมกรด หรือน้ำตาล ซึ่งน้ำผลไม้ชนิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นี้จะมีรสชาติใกล้เคียงน้ำผลไม้คั้นสดมากที่สุด
น้ำผลไม้ผสม น้ำผลไม้ประเภทนี้ อาจมีน้ำผลไม้ผสมอยู่มากกว่า ๑ ชนิด และส่วนใหญ่มักจะเติมน้ำตาล สารกันบูด สี และสารปรุงแต่งกลิ่นรสลงไปด้วย โดย ที่มีน้ำผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์
น้ำผลไม้ยูเอชที น้ำผลไม้ประเภทนี้ อาจผลิตจากผลไม้สด หรือน้ำผลไม้เข้มข้น (ที่ต้องมาทำให้เจือจาง) ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุขวด หรือผนึก กล่องสุญญากาศ เพื่อให้เก็บได้นานวัน
น้ำผลไม้ที่เราซื้อมาดื่ม ทั้งที่มีขายอยู่นอกห้างและในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีทั้งชนิดคั้นสด บรรจุกล่อง บรรจุขวด ฯลฯ หลากหลายรูปแบบนั้น ความจริงแบ่งได้ เป็น ๒ ประเภทเท่านั้น คือ
๑. น้ำผลไม้สด หมายถึง น้ำผลไม้ที่คั้นสำหรับดื่มสดๆ โดยไม่เติมสารปรุง แต่งใดๆ ทั้งสิ้น อย่างเช่น น้ำส้ม หรือน้ำฝรั่ง ที่คั้นกันสดๆ หรือบรรจุขวดแช่น้ำแข็งขาย
๒. น้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ หมายถึง น้ำผลไม้ที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการถนอมอาหาร โดยใส่สารกันบูด หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ เพื่อยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น ซึ่งน้ำผลไม้ประเภทนี้ก็มีหลายรูปแบบ เช่น
น้ำผลไม้ชนิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ทำจากผลไม้สดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ส้ม ฝรั่ง สับปะรด เป็นต้น โดยไม่ เติมกรด หรือน้ำตาล ซึ่งน้ำผลไม้ชนิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นี้จะมีรสชาติใกล้เคียงน้ำผลไม้คั้นสดมากที่สุด
น้ำผลไม้ผสม น้ำผลไม้ประเภทนี้ อาจมีน้ำผลไม้ผสมอยู่มากกว่า ๑ ชนิด และส่วนใหญ่มักจะเติมน้ำตาล สารกันบูด สี และสารปรุงแต่งกลิ่นรสลงไปด้วย โดย ที่มีน้ำผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์
น้ำผลไม้ยูเอชที น้ำผลไม้ประเภทนี้ อาจผลิตจากผลไม้สด หรือน้ำผลไม้เข้มข้น (ที่ต้องมาทำให้เจือจาง) ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุขวด หรือผนึก กล่องสุญญากาศ เพื่อให้เก็บได้นานวัน
ดื่มน้ำผลไม้ได้ประโยชน์อะไร
ในบรรดาอาหารชนิดต่างๆ ที่เรากิน ผักสด ผลไม้สด จะให้วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายชนิดแล้ว ถ้าหากแปรรูปมาเป็นน้ำผักหรือน้ำผลไม้ เราจะยังได้รับคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนเท่าเดิม เท่าที่ควรจะได้หรือเปล่า ไปฟังคำตอบจากนักวิชาการด้านอาหารกันค่ะ
อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า คุณค่าของน้ำผลไม้ทั้ง ๒ ชนิด ถ้าเปรียบเทียบคุณค่าจะใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเทียบระหว่างผลไม้และน้ำผลไม้ สดๆ ผลไม้สดย่อมดีกว่าน้ำผลไม้ แน่นอนซึ่งได้วิตามินเต็มที่ เพราะระหว่างที่คั้นผลไม้ อาจจะสัมผัสกับแสงแดด และระหว่างการเก็บจะทำให้ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดสูญหายไป เช่น วิตามินซี หรือวิตามินเอ เมื่อโดนแสงก็สลายไปหมด
อีกประการหนึ่ง การที่คนหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้ สิ่งที่จะขาดไปคือใยอาหาร ซึ่งคนปัจจุบันกินผักน้อยลงมาก จึงได้ไฟเบอร์หรือใยอาหารน้อย นักโภชนาการเองเคยหวังว่า เมื่อคนกินผักน้อยหรือไม่ชอบกินผัก (จะด้วยเหตุผลว่าผักไม่อร่อย หรือขี้เกียจเคี้ยวก็ตามที) ประชาชนก็น่าจะกินผลไม้ให้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าแทนที่จะกินผลไม้สดๆ กลับไปกินน้ำผลไม้แทนเพราะสะดวก สบาย ไม่ต้องเคี้ยว ผลคือ ทำให้ได้ใยอาหารต่ำ
"ไฟเบอร์ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นไฟโตเคมีคอล เป็นสารที่อยู่ในผักและผลไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติอมน้ำ แล้วขณะอมน้ำก็เกิดน้ำหนัก ก็เลยไหลผ่านระบบลำไส้ กระเพาะ แล้วขณะที่ไหลมันก็จะไปกวาดเอาน้ำตาล ไขมัน โคเลสเตอรอล หรือสารก่อมะเร็งออกไปจากร่างกายด้วย"
ฝรั่งจึงกล่าวว่าไฟเบอร์ที่ได้จากผัก ผลไม้ เปรียบประดุจไม้กวาด ที่กวาดเอา สิ่งที่ไม่ดีออกจากร่างกาย ปัจจุบันนักวิชาการให้ความสำคัญกับเรื่องไฟเบอร์มากจริงๆ ก็พูดกันมานาน แต่ไม่เป็นข่าวมากเหมือนทุกวันนี้ และที่เป็นข่าวมากก็เพราะคนทั่วโลกกินผัก ผลไม้น้อยลงอย่างน่าตกใจโดยเฉพาะผัก เมื่อไม่กินผักไม่กินผลไม้ โรคภัยก็ตามมา เพราะฉะนั้นระยะหลังคนจึงเป็นโรคภัยไข้เจ็บกันเยอะมาก
ในบรรดาอาหารชนิดต่างๆ ที่เรากิน ผักสด ผลไม้สด จะให้วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายชนิดแล้ว ถ้าหากแปรรูปมาเป็นน้ำผักหรือน้ำผลไม้ เราจะยังได้รับคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนเท่าเดิม เท่าที่ควรจะได้หรือเปล่า ไปฟังคำตอบจากนักวิชาการด้านอาหารกันค่ะ
อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า คุณค่าของน้ำผลไม้ทั้ง ๒ ชนิด ถ้าเปรียบเทียบคุณค่าจะใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเทียบระหว่างผลไม้และน้ำผลไม้ สดๆ ผลไม้สดย่อมดีกว่าน้ำผลไม้ แน่นอนซึ่งได้วิตามินเต็มที่ เพราะระหว่างที่คั้นผลไม้ อาจจะสัมผัสกับแสงแดด และระหว่างการเก็บจะทำให้ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดสูญหายไป เช่น วิตามินซี หรือวิตามินเอ เมื่อโดนแสงก็สลายไปหมด
อีกประการหนึ่ง การที่คนหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้ สิ่งที่จะขาดไปคือใยอาหาร ซึ่งคนปัจจุบันกินผักน้อยลงมาก จึงได้ไฟเบอร์หรือใยอาหารน้อย นักโภชนาการเองเคยหวังว่า เมื่อคนกินผักน้อยหรือไม่ชอบกินผัก (จะด้วยเหตุผลว่าผักไม่อร่อย หรือขี้เกียจเคี้ยวก็ตามที) ประชาชนก็น่าจะกินผลไม้ให้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าแทนที่จะกินผลไม้สดๆ กลับไปกินน้ำผลไม้แทนเพราะสะดวก สบาย ไม่ต้องเคี้ยว ผลคือ ทำให้ได้ใยอาหารต่ำ
"ไฟเบอร์ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นไฟโตเคมีคอล เป็นสารที่อยู่ในผักและผลไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติอมน้ำ แล้วขณะอมน้ำก็เกิดน้ำหนัก ก็เลยไหลผ่านระบบลำไส้ กระเพาะ แล้วขณะที่ไหลมันก็จะไปกวาดเอาน้ำตาล ไขมัน โคเลสเตอรอล หรือสารก่อมะเร็งออกไปจากร่างกายด้วย"
ฝรั่งจึงกล่าวว่าไฟเบอร์ที่ได้จากผัก ผลไม้ เปรียบประดุจไม้กวาด ที่กวาดเอา สิ่งที่ไม่ดีออกจากร่างกาย ปัจจุบันนักวิชาการให้ความสำคัญกับเรื่องไฟเบอร์มากจริงๆ ก็พูดกันมานาน แต่ไม่เป็นข่าวมากเหมือนทุกวันนี้ และที่เป็นข่าวมากก็เพราะคนทั่วโลกกินผัก ผลไม้น้อยลงอย่างน่าตกใจโดยเฉพาะผัก เมื่อไม่กินผักไม่กินผลไม้ โรคภัยก็ตามมา เพราะฉะนั้นระยะหลังคนจึงเป็นโรคภัยไข้เจ็บกันเยอะมาก
ควรเลือกดื่มน้ำผลไม้แบบไหน
การดื่มน้ำผลไม้ให้ภาพลักษณ์ที่ดูดี (ว่าเป็นคนที่รักสุขภาพ) ขณะเดียวกันการโฆษณาหรือกล่องสวยๆ ของเครื่องดื่ม ก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อไม่น้อย อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ให้คำแนะนำในการเลือกดื่มน้ำผลไม้ให้ได้ประโยชน์ว่า
"พูดถึงน้ำผลไม้ ผมขอรวมเอาน้ำสมุนไพรที่กำลังเห่อกันอย่างน้ำลูกยอ หรือน้ำผักปั่นเข้าไปด้วย สิ่งที่น่าห่วงคือการที่ผู้ขายใส่น้ำตาลจนหวานเจี๊ยบ จนแทบไม่มีกลิ่นหรือมีรสของสมุนไพรเลย
จริงๆ แล้วตามความหมายของน้ำสมุนไพร คือ ต้องมีกลิ่นสมุนไพรนำหน้า ไม่ใช่กลิ่นหรือความหวานของน้ำตาลนำหน้า อาจหวานนิดหน่อยปะแล่มๆ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรที่หวานจัด น้ำตาลที่สะสมมากๆ นี่แหละ ที่จะเปลี่ยนเป็นไขมันแล้วทำให้อ้วนได้
ข้อเสียของการดื่มน้ำผลไม้ที่หวานจัด คือ เด็กๆ ที่กินหวานมากจะไม่รู้สึกหิวข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก ผลคือ อาจทำให้ขาดสารอาหาร ทำให้เด็กติดรสหวาน ทำให้ฟันผุ ถ้าจะดื่มน้ำผลไม้แทนการดื่มน้ำอัดลมเป็นครั้งคราว หรือวันละ ๑-๓ แก้ว เพื่อดับกระหาย เพื่อความสดชื่นก็สามารถดื่มได้ ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล แต่ถ้าจะดื่มน้ำผลไม้แทนการกินผลไม้ ผมไม่สนับสนุน"
น้ำผลไม้ยูเอชทีเพิ่มวิตามิน
ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ แล้วดื่มทันที จะให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี แต่ถ้าเป็นน้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ เช่น น้ำผลไม้บรรจุขวด หรือบรรจุกล่องประเภทยูเอชทีทั้งหลาย แน่นอนว่าวิตามินสำคัญ เช่น วิตามินซี หรือวิตามินเอ สลายไปหมดไม่มีเหลือแล้วรู้อย่างนี้ บรรดาผู้ผลิตน้ำผลไม้ประเภทต่างๆ จึงเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยการเติมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ลงไปเพื่อเสริมส่วนขาด (และเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายด้วย) วิตามินที่เติมลงไปในน้ำผลไม้จะ ให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ให้ความรู้ว่า
"โดยหลักการ การเติมสารอาหารลงไป เขาจะเติมให้ได้ปริมาณ ๑ ใน ๓ ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่ต้องยอมรับว่า วิตามินเอ วิตามินซี เมื่อเจอความร้อนจะถูกออกซิไดซ์ (ทำปฏิกิริยากับอากาศ) เพราะฉะนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่ ก็จะเติมวิตามินเหล่านี้ในปริมาณมาก เผื่อการสูญสลายเอาไว้ด้วย หรือบางยี่ห้ออาจใช้วิธีบรรจุเครื่องดื่มในกล่องทึบแสง ซึ่งก็ช่วยให้วิตามินเหล่านั้นคงอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าวิตามินที่เติมลงไปจะอยู่ได้ยืนยาวตลอดเวลาจนถึงวันหมดอายุ วิตามินที่เติมลงไปในน้ำผลไม้ อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารบ้างแต่ไม่มาก ไม่อยากให้ประชาชนผู้บริโภค ตื่นกระแสน้ำผลไม้ที่เติมวิตามิน แล้วอุปาทานเหมือนกับว่าดื่มน้ำผลไม้แล้วได้รับประโยชน์มากมาย โดยไม่กินผักและผลไม้ ซึ่งจะทดแทนกันไม่ได้
ผมอยากบอกว่า การกินผลไม้ทุกชนิดโดยตรง แล้วดื่มน้ำเปล่าๆ จะได้ประโยชน์กว่าการดื่มน้ำผลไม้ ยกตัวอย่าง เช่น กินส้ม ๑ ผล กินน้ำส้มคั้น ๑ แก้ว (ที่คั้นสดๆ) ที่หากทิ้งไว้ไม่นาน ก็อาจมีวิตามินซีอยู่บ้าง มีไฟเบอร์เล็กน้อย นอกนั้นก็เป็นน้ำ เป็นน้ำตาล ส่วนธาตุอาหารอย่างอื่นเรียกว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ถ้าเรากินผลไม้สด กินส้ม ๑ ผล ขณะที่ปอกเปลือกแล้วกินทันที เราจะได้วิตามินซีแบบเต็มๆ และได้วิตามินอื่นๆ เช่น วิตามินเอ หรือบีตาแคโรทีน เรียกว่า มีประโยชน์มากกว่ากันแน่นอน"
เลือกซื้อ เลือกดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์
น้ำผลไม้ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์(กว่าน้ำอัดลมหรือชากาแฟ)นี้ หากเลือกไม่เป็นหรือซื้อแบบไม่เลือกเลย ก็อาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร และบาง กรณีก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ คำแนะนำต่อไปนี้จากนักโภชนาการ อาจเป็นคำแนะนำสามัญธรรมดาที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่นำไปปฏิบัติจริง ก็ไม่มีประโยชน์ต่อการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันเลย
ครั้งต่อไปหากจะซื้อน้ำผลไม้มาดื่มก็ควรจะพิถีพิถันกันสักหน่อยถ้าเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นก็ต้องทำให้เจือจางก่อนแล้วน้ำที่จะมาทำให้เจือจางนั้น ควรต้องเป็นน้ำต้มสุกที่สะอาด ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้ น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำแข็ง ก็ควรจะพิถีพิถันในการเลือกซื้อสักหน่อย เพราะบางทีน้ำผลไม้ทำมาสะอาด แล้วใส่น้ำแข็งที่สกปรก ก็ท้องเสียได้ง่ายเช่นกัน เพราะน้ำผลไม้เองก็ง่ายต่อการทำให้เกิดการบูดเน่าอยู่แล้ว
การเลือกซื้อน้ำผลไม้บรรจุกล่องนั้น ก่อนซื้อควรอ่านฉลากทุกครั้ง เพราะผู้บริโภคจะทราบว่า น้ำผลไม้ชนิดนั้นมีปริมาณน้ำตาลอยู่เท่าไหร่ มีสารกันบูดหรือไม่ (การบริโภคสารกันบูดบ่อยๆ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน) วันหมดอายุของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องดูทุกครั้ง โดยเฉพาะน้ำผลไม้ หากหมดอายุแล้วดื่มเข้าไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะร้านค้าบางแห่งหรือบางห้าง มักจะนำสินค้าที่ใกล้หมดอายุมาวางปะปนกัน ถ้าผู้ซื้อดูไม่ละเอียดรอบคอบก็อาจได้สินค้าที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์มาดื่มกิน
จะให้ดีที่สุด ควรคั้นเองสดๆ แล้วดื่มทันที นั่นล่ะประโยชน์เต็มร้อย ข้อสำคัญต้องเพิ่มความขยันให้กับตัวเองอีกสักหน่อย แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงพลังความสดชื่นที่แท้จริง
ที่มา : มติชนออนไลน์ โดย มูลนิธิหมอชาวบ้าน
การดื่มน้ำผลไม้ให้ภาพลักษณ์ที่ดูดี (ว่าเป็นคนที่รักสุขภาพ) ขณะเดียวกันการโฆษณาหรือกล่องสวยๆ ของเครื่องดื่ม ก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อไม่น้อย อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ให้คำแนะนำในการเลือกดื่มน้ำผลไม้ให้ได้ประโยชน์ว่า
"พูดถึงน้ำผลไม้ ผมขอรวมเอาน้ำสมุนไพรที่กำลังเห่อกันอย่างน้ำลูกยอ หรือน้ำผักปั่นเข้าไปด้วย สิ่งที่น่าห่วงคือการที่ผู้ขายใส่น้ำตาลจนหวานเจี๊ยบ จนแทบไม่มีกลิ่นหรือมีรสของสมุนไพรเลย
จริงๆ แล้วตามความหมายของน้ำสมุนไพร คือ ต้องมีกลิ่นสมุนไพรนำหน้า ไม่ใช่กลิ่นหรือความหวานของน้ำตาลนำหน้า อาจหวานนิดหน่อยปะแล่มๆ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรที่หวานจัด น้ำตาลที่สะสมมากๆ นี่แหละ ที่จะเปลี่ยนเป็นไขมันแล้วทำให้อ้วนได้
ข้อเสียของการดื่มน้ำผลไม้ที่หวานจัด คือ เด็กๆ ที่กินหวานมากจะไม่รู้สึกหิวข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก ผลคือ อาจทำให้ขาดสารอาหาร ทำให้เด็กติดรสหวาน ทำให้ฟันผุ ถ้าจะดื่มน้ำผลไม้แทนการดื่มน้ำอัดลมเป็นครั้งคราว หรือวันละ ๑-๓ แก้ว เพื่อดับกระหาย เพื่อความสดชื่นก็สามารถดื่มได้ ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล แต่ถ้าจะดื่มน้ำผลไม้แทนการกินผลไม้ ผมไม่สนับสนุน"
น้ำผลไม้ยูเอชทีเพิ่มวิตามิน
ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ แล้วดื่มทันที จะให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี แต่ถ้าเป็นน้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนการ เช่น น้ำผลไม้บรรจุขวด หรือบรรจุกล่องประเภทยูเอชทีทั้งหลาย แน่นอนว่าวิตามินสำคัญ เช่น วิตามินซี หรือวิตามินเอ สลายไปหมดไม่มีเหลือแล้วรู้อย่างนี้ บรรดาผู้ผลิตน้ำผลไม้ประเภทต่างๆ จึงเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยการเติมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ลงไปเพื่อเสริมส่วนขาด (และเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายด้วย) วิตามินที่เติมลงไปในน้ำผลไม้จะ ให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ให้ความรู้ว่า
"โดยหลักการ การเติมสารอาหารลงไป เขาจะเติมให้ได้ปริมาณ ๑ ใน ๓ ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่ต้องยอมรับว่า วิตามินเอ วิตามินซี เมื่อเจอความร้อนจะถูกออกซิไดซ์ (ทำปฏิกิริยากับอากาศ) เพราะฉะนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่ ก็จะเติมวิตามินเหล่านี้ในปริมาณมาก เผื่อการสูญสลายเอาไว้ด้วย หรือบางยี่ห้ออาจใช้วิธีบรรจุเครื่องดื่มในกล่องทึบแสง ซึ่งก็ช่วยให้วิตามินเหล่านั้นคงอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าวิตามินที่เติมลงไปจะอยู่ได้ยืนยาวตลอดเวลาจนถึงวันหมดอายุ วิตามินที่เติมลงไปในน้ำผลไม้ อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารบ้างแต่ไม่มาก ไม่อยากให้ประชาชนผู้บริโภค ตื่นกระแสน้ำผลไม้ที่เติมวิตามิน แล้วอุปาทานเหมือนกับว่าดื่มน้ำผลไม้แล้วได้รับประโยชน์มากมาย โดยไม่กินผักและผลไม้ ซึ่งจะทดแทนกันไม่ได้
ผมอยากบอกว่า การกินผลไม้ทุกชนิดโดยตรง แล้วดื่มน้ำเปล่าๆ จะได้ประโยชน์กว่าการดื่มน้ำผลไม้ ยกตัวอย่าง เช่น กินส้ม ๑ ผล กินน้ำส้มคั้น ๑ แก้ว (ที่คั้นสดๆ) ที่หากทิ้งไว้ไม่นาน ก็อาจมีวิตามินซีอยู่บ้าง มีไฟเบอร์เล็กน้อย นอกนั้นก็เป็นน้ำ เป็นน้ำตาล ส่วนธาตุอาหารอย่างอื่นเรียกว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ถ้าเรากินผลไม้สด กินส้ม ๑ ผล ขณะที่ปอกเปลือกแล้วกินทันที เราจะได้วิตามินซีแบบเต็มๆ และได้วิตามินอื่นๆ เช่น วิตามินเอ หรือบีตาแคโรทีน เรียกว่า มีประโยชน์มากกว่ากันแน่นอน"
เลือกซื้อ เลือกดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์
น้ำผลไม้ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์(กว่าน้ำอัดลมหรือชากาแฟ)นี้ หากเลือกไม่เป็นหรือซื้อแบบไม่เลือกเลย ก็อาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร และบาง กรณีก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ คำแนะนำต่อไปนี้จากนักโภชนาการ อาจเป็นคำแนะนำสามัญธรรมดาที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่นำไปปฏิบัติจริง ก็ไม่มีประโยชน์ต่อการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันเลย
ครั้งต่อไปหากจะซื้อน้ำผลไม้มาดื่มก็ควรจะพิถีพิถันกันสักหน่อยถ้าเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นก็ต้องทำให้เจือจางก่อนแล้วน้ำที่จะมาทำให้เจือจางนั้น ควรต้องเป็นน้ำต้มสุกที่สะอาด ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้ น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำแข็ง ก็ควรจะพิถีพิถันในการเลือกซื้อสักหน่อย เพราะบางทีน้ำผลไม้ทำมาสะอาด แล้วใส่น้ำแข็งที่สกปรก ก็ท้องเสียได้ง่ายเช่นกัน เพราะน้ำผลไม้เองก็ง่ายต่อการทำให้เกิดการบูดเน่าอยู่แล้ว
การเลือกซื้อน้ำผลไม้บรรจุกล่องนั้น ก่อนซื้อควรอ่านฉลากทุกครั้ง เพราะผู้บริโภคจะทราบว่า น้ำผลไม้ชนิดนั้นมีปริมาณน้ำตาลอยู่เท่าไหร่ มีสารกันบูดหรือไม่ (การบริโภคสารกันบูดบ่อยๆ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน) วันหมดอายุของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องดูทุกครั้ง โดยเฉพาะน้ำผลไม้ หากหมดอายุแล้วดื่มเข้าไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะร้านค้าบางแห่งหรือบางห้าง มักจะนำสินค้าที่ใกล้หมดอายุมาวางปะปนกัน ถ้าผู้ซื้อดูไม่ละเอียดรอบคอบก็อาจได้สินค้าที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์มาดื่มกิน
จะให้ดีที่สุด ควรคั้นเองสดๆ แล้วดื่มทันที นั่นล่ะประโยชน์เต็มร้อย ข้อสำคัญต้องเพิ่มความขยันให้กับตัวเองอีกสักหน่อย แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงพลังความสดชื่นที่แท้จริง
ที่มา : มติชนออนไลน์ โดย มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น