1.ข้อมูลหมายถึง :ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจศึกษา จำแนกได้ดังนี้
ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ
ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
ข้อมูล คืออะไร
ข้อมูล คือข่าวสารรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการจัดเก็บ เพื่อที่จะเรียกข้อมูลมาอ้างอิงหรือแก้ไขได้ในภายหลังตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล อาจจะมีทั้งชนิดที่เป็นข้อความ(Text) ตัวเลข(Numbers) วันที่(Dates) หรือแม้กระทั่งรูปภาพ (Pictures)
ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วและเก็บข้อมูล ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสม อาจมีทั้งประเภทตัวเลข ข้อความ วันที่ รูปภาพ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน เป็นต้น
2. ข้อมูลปฐมภูมิคือ : เป็นข้อมูลที่เก็บจากต้นแหล่งแท้ครั้งแรกโดย ผู้เก็บข้อมูลหรือผู้ตรวจสอบ หรือผู้สังเกตเห็น ส่วนใหญ่ถ้าคนตั้งใจเก็บข้อมูลปฐมภูมิจะใช้วิธีสำรวจจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีอยู่จริง อีกประการหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ คือผลงานการสร้างหรือทำของมนุษย์แต่ผู้สร้างหรือทำตั้งใจใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วผลงานนั้นตกทอดถูกเก็บรักษาและได้รับการค้นพบ ทำให้เป็นหลักฐานวินิจฉัย เรื่องราวหรือเหตุการณ์จริงได้ เช่น ผลงานศิลปะของคน สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง การแกะสลัก หรือการเขียนบันทึกตัวหนังสือ รูปภาพ เรื่องราวลงบนวัตถุต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อมีการค้นพบภายหลังสิ่งเหล่านี้ ก็คือเป็นข้อมูลปฐมภูมิเช่นกัน
ตัวอย่าง เช่น วิจัย หรือรายงาน
3.ข้อมูลทุติยภูมิ :เป็นข้อมูลที่ได้รับการนำมาจัดกระทำแล้ว หรือได้รักการกล่าวอ้างถึงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรที่จารึกเรื่องราวเป็นแท่งหินถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ต่อมามีผู้พบแล้วพยายามอ่านแล้วแปลหรือถ่ายทอดออกมาเผยแพร่ต่อส่วนที่ถูกถ่ายทอดออกมาเผยแพร่นี้ เรียกว่า เป็นข้อมูลทุติยภูมิ
4.สารสนเทศหมายถึง : เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้า ไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่ เก็บข้อมูล
5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ : แบ่งออกเป็น3 ประเภทคือ
- ทรัพยากรการตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
- ทรัพยากรการไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ ทัศนวัสดุ โสตวัสดุ โสตทัศนวัสดุ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ฐานข้อมูลออฟไลน์ ฐานข้อมูลออนไลน์
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียง คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น : ข้อมูลทุติยภูมิ
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามมาจากเพื่อนแต่ละคนเป็น: ข้อมูลทุกติยภูมิ
9.ผลการลงทะเบียนเป็นของนิสิตปี1เป็น : ข้อมูลตติยภูมิ
10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตนห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคารเป็น : ข้อมูลทุติยภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น