วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1. ให้นิสิตหาราชื่อ เว็ปไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี่มาอย่างล่ะ 3 รายการ





1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


ความสำคัญ

                 ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ


  1. http://www.kku.ac.th/
  2. http://www.msu.ac.th/
  3. http://www.mcu.ac.th/


1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน



การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน

E-commerce: Electronic Commerce
E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลัก ในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business
E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ - ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI

  • ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร
  • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
  • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
  • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
  • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัต
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น


  1. http://www.themallratchasima.com/
  2. http://www.bigc.co.th/
  3. http://www.tescolotus.net/


1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา การนำเสนอสารที่มีคุณค่า สร้างความน่าสนใจ ก่อเกิดประโยชน์การบริหารจัดการทางด้านเทคโนโลยีที่นำไปใช้อย่างสูงสุดไปแก่ผู้รับสารจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสื่อมวลชน คือ การถ่ายทอดความรู้ข่าวสารสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่เจาะจงสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ข่าวสารที่ถูกนำเสนอจากสื่อมวลชน จึงเป็นข่าวสารสำหรับผู้รับแต่ละคนที่จะเลือกรับตามโอกาสและความพอใจ ใครพร้อมที่จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือรับสื่อมวลชนอื่นใด ที่ไหน เมื่อใดก็ได้ เป็นการรับข่าวสารตามอัธยาศัย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว หรือมีความตั้งใจ การรับข่าวสารในลักษณะดังกล่าว จึงสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบปกติวิสัย ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องอาศัยระบบการจัดการใดๆ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ย่อมมีอยู่มากมาย และแตกต่างกันไป ทั้งประสบการณ์ในทางที่ดีและไม่ดี ประสบการณ์ใดที่มีคุณค่าก่อให้เกิดผลต่อบุคคลในทางสร้างสรรค์ ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาทั้งสิ้น ดังนั้นการที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาจากรูปแบบการศึกษาตามปกติวิสัย มากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับการจัดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม และนำเสนอความรู้ข่าวสารที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชน 
สภาพที่เอื้อต่อการศึกษาตามปกติวิสัย หมายถึงสภาพที่ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตามปกติวิสัย ซึ่งอาจจัดให้มีขึ้นได้ดังนี้ 
1. การจัดกิจกรรม หรือร่วมกิจกรรมที่มีคุณค่า หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนบุคคล กิจกรรมในครอบครัวหรือในชุมชนก็ตาม หากมีโอกาสที่จะเลือกจัดกิจกรรมหรือร่วมกิจกรรมได้หลายอย่าง ก็ควรเลือกกิจกรรมที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น การจัดเลี้ยงสังสรรค์การทำบุญตักบาตร การเดินทางท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ฯลฯ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องย่อมพิจารณาได้ว่ากิจกรรมใดมีคุณค่ามากกว่า 
2. การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี เนื่องการศึกษาตามปกติวิสัยเป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมใกล้ตัว หากคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีไปด้วย จึงควรจัดสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณค่า ทั้งในครอบครัวและชุมชน ให้ได้รับแต่สิ่งที่ดี โดยเฉพาะการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการแยกแยะว่า สิ่งใดดีหรือสิ่งใดไม่ดี ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพบ้านเรือนที่น่าอยู่ ห้องสมุด ของเล่นเสริมทักษะ สภานที่พักผ่อนออกกำลังกาย การอยู่ในชุมชนหรือสังคมของคนดี ฯลฯ 
3. เพิ่มโอกาสการรับข่าวสาร จากสื่อสารมวลชน เนื่องจากสื่อมวลชนเป็นแหล่งให้ความรู้ข่าวสารที่สำคัญสำหรับการศึกษาตามปกติวิสัย แม้ว่าในปัจจุบัน สื่อมวลชนจะกระจายไปสู่ประชาชนอย่างแพร่หลายมากแล้ว แต่โอกาสในการรับ ของประชาชนส่วนหนึ่งยังมีน้อย เช่น ประชาชนในชนบท หรือผู้ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่สำหรับการเดินทางและประกอบอาชีพ การทำให้คนมีโอกาสได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลเพิ่มขึ้น จะช่วยส่งเสริมการศึกษาได้ทางหนึ่ง เช่น การจัดรายการวิทยุสำหรับผู้ทำงานกลางคืน จัดที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เผยแพร่รายการวิทยุ โทรทัศน์ตามสื่อสารธารณะ เป็นต้น


  1. http://www.ch7.com/
  2. http://www.thaitv3.com/
  3. http://www.tv5.co.th/


1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน

ป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้ การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป



  1. http://www.gunzahonda.blogspot.com/
  2. http://www.korachindustry.co.th/
  3. http://www.ats.or.th/



1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็น หลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค เครื่องเอกซเรย์ เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเร โซแนน์อิมเมจเครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องตรวจการทำงานขอหัวเครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องฉายรังสี เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แว่นตา คอนแทกเลนส์- การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ การใช้รังสี เครื่องฉายรังสี อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย การสร้างเด็กหลอดแก้ว การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม อุตสาหกรรมการผลิตยา การผลิตเซรุ่ม การผลิตวัคซีนป้องกันโรค


การเก็บรักษาข้อมูลของผุ้ป่วยในระบบ แทนการจดหรือเขียน 



  1. http://www.bangkokhospital.com/
  2. http://www.pmkmedicine.com/
  3. http://www.mnrh.go.th/

1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการทหาร (Information Technology with Military)


ในยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) หรือยุคคอมพิวเตอร์ (Computer Age) เป็นยุคปัจจุบันที่มีลักษณะของความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลอย่างอิสระ และสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้โดยทันทีทันใด เป็นการหาผลกำไรจากการจัดการกับข้อมูล ซึ่งเริ่มตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ในปี 1970 ขยายวงกว้างขึ้นโดยใช้ระบบ Internet และก่อตัวเป็นเครือข่ายสังคม (Social Network) ในปี 2000
 สำหรับข้อมูลข่าวสารนั้นสามารถแบ่งตามเน้นความของข้อมูลได้ดังนี้-        ข้อเท็จจริง (Fact) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น-        ข้อมูล (Data) คือ เหตุการณ์ที่ถูกแปลงเป็นข้อมูลที่มีเนื้อหาทั้งหมด และถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ-        ข่าวสาร (Information) เป็นสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลมาเรียบเรียงโดยคัดเอาเฉพาะเนื้อหาต้องการและเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ-        ข่าวกรอง (Intelligent) เมื่อนำข่าวสารทั้งหมดมาพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง มีระดับความเชื่อมั่นของแหล่งที่มา จะได้เป็นข่าวกรอง-        ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่ได้รับเมื่อมีการเก็บรวบรวมข่าวกรองที่ถูกต้องไว้เป็นหมวดหมู่ และสามารถใช้ในการคาดการสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ขององค์กร-        ปรัชญา (Wisdom) เป็นการค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ โดยอ้างอิงจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมภายในองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญในด้านการทหาร จะเห็นได้จากมีความคิดปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องได้แก่ การข่าวกรอง (Intelligence), การรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร (Information security), การปฏิบัติการข่าวสาร/ การสงครามข่าวสาร (Information Operations/ Information Warfare), การการสงครามบัญชาการและควบคุม(Command and Control Warfare), และ การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare) เป็นต้นการข่าวกรอง (Intelligence) การข่าวกรองเป็นการรวบรวมข่าวสารเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการทหาร ซึ่งต้องทำทั้งในยามปกติ และยามเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหาข่าวซึ่งมีวิธีการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งจากภาคพื้น ในทะเล หรือภาคอากาศ หากปราศจากการข่าวกรอง การปฏิบัติทางทหารจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากก่อนการปฏิบัติใด ๆ จำเป็นจะต้องมีข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธวิธี ยุทโธปกรณ์ และแนวทางการใช้งานของข้าศึก ตลอดจนที่ตั้งและจำนวน ซึ่งข้อมูลข่าวสารนี้จะถูกนำไปทำเป็นทำเนียบกำลังรบอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ (Electronic Order of Battle: EOB) และฐานข้อมูลด้านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Database) ตลอดจนใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินตกลงใจของผู้บังคับบัญชาในการสงครามบัญชาการและควบคุม (Command and Control Warfare: C2W) อีกด้วย                วิธีการรวมรวมข่าวกรองสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะคือ ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signals Intelligence: SIGINT), ข่าวกรองทางบุคคล (Human Intelligence: HUMINT) และข่าวกรองทางภาพ (Imagery Intelligence: IMINT) การรักษาความปลอดภัยข่าวสาร (Information Security) ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่มีค่า มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรราชการ และองค์กรพลเรือน หรือประชาชนทั่วไป หากสูญเสียความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลจะทำให้คู่ธุรกิจเกิดความไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ และจะทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารมีอยู่ ๓ ประเด็น คือ การรักษาความลับ (Confidential), การรักษาสภาพ (Integrity), และความเชื่อมั่นในการใช้งาน (Accountability)
-        การรักษาความลับ หมายถึง การที่ไม่ทำให้เนื้อหาของข่าวสารถูกเปิดเผยไปสู่บุคคลภายนอก มากกว่าความต้องการขององค์กร
-        การรักษาสภาพ หมายถึง การรักษาสภาพของเนื้อหา และสื่อกลางที่บรรจุเนื้อหาของข่าวสารไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลง หรือทำลาย-        ความเชื่อมั่นในการใช้งาน หมายถึง ต้องมีระบบตรวจสอบในความรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความมั่นใจในการใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการลดโอกาสที่จะเกิดการละเมิดต่อไปในอนาคต สำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร มี ๓ มาตรการหลัก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Security), การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ (Computer Security), และการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ (Rule and Regulation) ทั้งนี้มาตรการต่าง ๆ จะสำเร็จได้ต้องได้รับการสนับสนุนและการเห็นคุณค่าจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงภายในองค์กรการปฏิบัติการข่าวสาร การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก 
การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรับ (Defensive IO) เป็นการรวบรวม และประสานสอดคล้องของนโยบาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติการ บุคลากร และเทคโนโลยีในการป้องกันระบบข้องมูลข่าวสารของฝ่ายเรา

เทคโนโลยีสารสนเทศกับตำรวจ




เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นต่องานตำรวจ รัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องสนับสนุนทั้งด้านการปราบปราม สายสืบ และงานจราจร ล่าสุด สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะนำระบบออกใบสั่งจราจรออนไลน์ (อี-ทิคเก็ต)  มาใช้ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ โดยตำรวจที่จะออกใบสั่งอยู่ในสังกัด บก.จร., บก.น.5 และตำรวจปทุมธานีเป็นหลัก เบื้องต้นมีอยู่ 30 เครื่อง โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 1 ปี ในเขตพื้นที่ กทม. จะมีใช้ทั้งหมด เครื่องนี้นอกจากการออกใบสั่งแล้ว ยังมีประโยชน์เกี่ยวเนื่องไปถึงงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมด้วย ตำรวจจราจรผู้ออกใบสั่งจะป้อนข้อมูลในระบบสัมผัส ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที อย่างการตรวจสอบประวัติอาชญากรและข้อมูลรถหายได้ จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที เพราะข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับยานพาหนะจะไปเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลในระบบโปลิส ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดีตรงที่ข้อมูลยานพาหนะยังไปเชื่อมกับกรมการขนส่งทางบกโดยอัตโนมัติ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจับกุมผู้กระทำความผิด และกลุ่มแก๊งโจรกรรมรถ อย่างน้อยชาวบ้านก็มีความปลอดภัยขึ้น ประเด็นสำคัญ หากเครื่องนี้ใช้ได้ผลจริง ปัญหาผลประโยชน์ทั้งส่วยทางหลวง ประเภท สน.ต้นมะขาม จะหายไป ในส่วนของประชาชนก็สะดวกขึ้น หากถูกใบสั่งออนไลน์ก็ชำระค่าปรับได้ตามไปรษณีย์สาขาทั่วประเทศ นอกเหนือไปจากสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกจับกุม สะดวกทั้งตำรวจ ง่ายทั้งประชาชนผู้กระทำผิดกฎหมาย หลังจากทดลองใช้ไป 30 วัน จะมีการประเมินผลกันอีกครั้ง ถ้าระบบนี้ไปได้ดีตำรวจไทยก็จะเข้าสู่ยุคดิจิทัลกับเขาบ้าง ใครเคยดูหนังฝรั่งจะเห็นตำรวจถือเครื่องมือเล็ก หรือไม่ก็ติดในรถสายตรวจ เมื่อพบรถต้องสงสัยหรือบุคคลที่มีพิรุธ ก็ตรวจสอบได้ทัน ถ้าระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมบูรณ์แบบใช้ได้ทั่วประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านและตำรวจเองด้วย ทั้งลดปัญหาการจราจร ลดปัญหาอาชญากรรม ป้องปรามเหตุร้ายได้อีกด้วย ถ้าดีเชื่อว่ารัฐบาลคงสนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่!!
  1. http://www.rtarf.mi.th/index_new.html/
  2. http://swc.rta.mi.th/index11.htm/
  3. http://mrdc.dstd.mi.th/index2.html/


1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม

  
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมสำรวจได้เจริญรุดหน้าไปอย่างมากทั้งในส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดหรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลหรือที่เรียกว่าซอฟท์แวร์(Software)การพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของเครื่องมือสำรวจรังวัดได้นำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์และไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของตัวเครื่องมือเป็นผลให้ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเช่นเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดภาคพื้นได้แก่กล้อง Total  Station กล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์  ดังรูปที่ 1 เป็นต้น  ส่วนการสำรวจรังวัดภาพถ่ายใช้กล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัล ระบบ 3D  Laser Scanner รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียมนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือรังวัดพิกัดจากระบบการกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม ที่เรียกกันว่า GPS (Global Positioning  System)  ดังรูป

eica  SR20  GPS  Receiver
 ในด้านโปรแกรมประมวลผลมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผนวกเอาข้อมูลทางด้าน
แผนที่  หรือที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Spatial  Data) มาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กับข้อมูลเชิงตำแหน่งนั้นๆ ที่เรียกว่า ข้อมูลอรรถหรือคุณลักษณะ (Attribute  Data  or  Non-spatial
Data)  ที่เรียกกันว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic  Information  System , GIS)

ปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้มีองค์ประกอบส่วนต่างๆ ดังนี้  ระบบคอมพิวเตอร์   ระบบซอฟท์แวร์   ข้อมูล    กรรมวิธี  บุคลากร  และการบำรุงรักษา  ซึ่งทุกส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีประสิทธิภาพ


  1. http://www.tsae.asia/
  2. http://www.eeat.or.th/
  3. http://www.eit.or.th/


1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร
สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร 
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรได้หลายประการดังนี้
1. ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
2. จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งความรู้
4. เป็นช่องทางการตลาดช่องทางหนึ่งด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- commerce)
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดประเภทข้อมูลทางการเกษตร
            ณรงค์ สมพงษ์ (2543) ได้รวบรวมขอบเขตของข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการเกษตรนานาชาติ (AGRIS)  เป็นหัวข้อกว้าง ๆ ดังนี้
            1. ด้านการเกษตรทั่วไป (Agriculture in General)
            2. ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (Geography and History)
            3. การศึกษา ส่งเสริมและเผยแพร่ข้อสนเทศ (Education Extension and Information)
            4. การบริหารและกฎหมาย (Administration and Legislation)
            5. เศรษฐศาสตร์และพัฒนาชนบท (Economic Development and Rural Sociology)
            6. พืชศาสตร์ (Plant Science and Protection)
            7. วิทยาการหลักการเก็บเกี่ยว (Post Harvest Technology)
            8. สัตวศาสตร์ (Animal Science)
            9. การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Fisheries and Aquaculture)
            10. วิศวกรรมเกษตรและเครื่องจักรกล (Agricuitural Machinery and Engineering)
            11. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Enviroments)
            12. อุตสาหกรรมการเกษตร (Processing of Agricultural Product)
            13. วิทยาการการเลี้ยงดู (Human Nutrition)
            14. นิเวศวิทยา (Pollution)
            รวมทั้งเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไปเกี่ยวข้องด้านการเกษตร และมีหัวเรื่องย่อยละเอียดลงไปอีก
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ด้านการเกษตรอื่นๆที่ได้รวบรวม เชื่อมโยง เผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตร เช่น www.kasetonline.net ซึ่งมีสารบัญความรู้ทางการเกษตรในเรื่องดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ประมง เทคโนโลยีการเกษตร แหล่งวิทยาการ ปุ๋ย ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการด้านการเกษตรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งานวิจัยสารเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นต้น



  1. http://www.doa.go.th/
  2. http://www.moac.go.th/
  3. http://www.ricethailand.go.th/



1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถที่คนพิการมีอยู่ เช่น ทำนาฬิกาให้พูดบอกเวลาได้ หรือมีการสั่นสะเทือนผูกไว้กับข้อมือ สำหรับคนพิการหูหนวก หูตึง เป็นต้น
             การยอมรับและการเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการมีประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3ประการ คือ
 1การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน 2การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ 3การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
 1. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากที่คนปกติใช้กันอยู่ อาทิ ระบบปฏิบัติการที่เป็น DOS, WINDOWS, MACINTOSH, UNIX หรืออื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ เช่น ตาบอด ได้รับการออกแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่เคยชินกับการใช้แป้นพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ทั่วๆ ไป
    2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
    2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (SPEECH SYNTHESIZER) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (BRAILLE OUTPUT) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (BRAILLE DISPLAY) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (BRAILLE PRINTER)
  2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
  2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (SPEECH SYNTHESIZER) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (BRAILLE OUTPUT) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (BRAILLE DISPLAY) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (BRAILLE PRINTER)
3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาทำหน้าที่เฉพาะดังต่อไปนี้
3.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (SCREEN READER) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง 
 3.2 เครื่องขยายหน้าจอ (SCREEN ENLARGE MENT) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
3.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (BRAILLE TRANSLATION) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์ (BRAILLE DISPLAY) หรือเพื่อ การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอักษรเบรลล์ต่อไป
            นอกจากนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้กับคนพิการในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือนำเอาอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ สิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นๆ อีกมาใช้ เช่น เครื่องอ่านหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ โปรแกรม OCR (OPTICAL CHARACTER RECOGNITION) เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านจอภาพ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง หรือจอแสดงเบรลล์ เป็นต้น

            การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับคนพิการเป็นสิ่งที่ช่วยคนพิการให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้เกิดความ เข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันของด้านโอกาสในการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละประเภทอย่างจริงจัง
  1. http://www.apht-th.org/
  2. http://www.special.obec.go.th/
  3. http://www.baanphrapradaeng.com/



2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้างบอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
2.1)เปิดให้บริการของห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นการยืมและคืนหนังสือผ่านทางเครื่องช่วยลดเวลาให้การต่อคิวยืมหนังสือ  และยังมีเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาห้องสมุดให้สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ คือการค้นหาหนังสือผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทางห้องสุดจัดเป็นหมวดหมู่ไว้ในระบบ และง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลหนังสือที่เราต้องการแค่พิมพ์ชื่อหนังสือวัน เดือน ปี และครั้งที่พิมพ์ ของหนังสือที่เราต้องการระบบก็จะแสดงที่อยู่ของชั้นวางหนังสือให้เราเอง โดยเราไม่ต้องไปเดินหาทีละชั้น ข้อดีอีกอย่างก็คือสะดวกและรวดเร็ว




2.2)  แนวคิดเรื่อง อีบุ๊ค ( EBOOK) คือ การทำหนังสือ หรือแม็กกาซีน มาพัฒนาในรูปแบบดิจิตอล โดยผู้สนใจสามารถอ่านสิ่งพิมพ์ดิจิตอลเหล่านี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เหมือนการอ่านจากหนังสือหรือแม็กกาซีนทั่วไป แต่มีจุดเด่นคือ ผู้อ่านสามารถเข้าเลือกซื้อหนังสือหรือแมกกาซีนที่ EBOOK WORLD ได้ตลอดเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถเลือกดาวน์โหลดมาอ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือขณะใดก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้อง ONLINE อยู่ ถ้าได้ดาวน์โหลดไว้เรียบร้อยแล้ว           เทคนิคของการผลิต EBOOK เป็นเทคโนโลยีของบริษัท ZINIO ซึ่งในเบื้องต้นข้อมูลที่จะนำมาสร้าง EBOOK จะต้องเตรียมไฟล์ไว้ในรูปแบบ PDF สามารถใส่ LINK, ใส่ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงไว้ในไฟล์ PDF หลังจากนั้นจึงใช้เครื่องมือของ ZINIO นำมาจัดการกับไฟล์ PDF อีกครั้ง ทำให้ EBOOK มี EFFECT การเปิดอ่านที่น่าสนใจ น่าตื่นตาตื่นใจ           แผงหนังสือดิจิตอล EBOOK WORLD (หมายถึงของ TRUE) จะให้บริการครอบคุมหนังสือและนิตยสารชั้นนำทั้งในและต่างประเทศกว่า 20 หมวด ผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปเลือกซื้อหนังสือที่ EBOOK WORLD ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เว็บไซต์ WWW.EBOOKWORLD.IN.TH โดยสามารถดาวน์โหลดนิตยสารและหนังสือที่ต้องการมาไว้อ่านได้ในภายหลัง
          ซึ่งทรู ได้ร่วมกับสำนักพิมพ์ชั้นนำของประเทศ เช่น บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ( มหาชน ) , บริษัท บลิช พับลิชชิ่ง จำกัด , บริษัท บูรพัฒน์ คอมิคส์ พับลิเคชั่น์ จำกัด , บริษัท ฟิวเจอร์วิว จำกัด , บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด ( มหาชน ) , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นต้น เพื่อผลิต EBOOK ชุดแรกไว้บริการ โดยคัดสรรเนื้อหาสาระที่หลากหลายและรูปแบบแตกต่างกันผสมผสานไว้ใน แผงหนังสือติจิตอลแห่งนี้

2.3)  มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษามาให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศคือ การเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในมหาวิทยาลัยรวมทั้งคณะต่างๆได้ใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆบนโลกอินเทอร์เน็ต ได้รวดเร็วนั้นเอง






ข้อดีของ E-BOOK1. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ2.ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (CD 1 แผ่นสามารถเก็บ E-BOOK ได้ประมาณ 500 เล่ม)3.อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย4.ทำสำเนาได้ง่าย5.จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ6.อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ7.สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที8.เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ TRUE E-BOOKข้อเสียของ E-BOOK1.อาจเกิดปัญหากับการ ลง HARDWARE หรือ SOFTWARE  ใหม่หรือแทนที่อันเก่า2.ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย3.การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา4.เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย5.ไม่เหมาะกับบาง FORMAT เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง

3.1)สามารถ DOWNLOAD เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ฟรี ได้จาก HTTP://TDC.THAILIS.OR.TH/TDC/

3.2)สามารถลงทะเบียนเรียน ตรวจสอบข้อมูลการศึกษา ได้จาก HTTP://REG.MSU.AC.TH/3.3) สามารถติดตามข่าวสารจากทางมหาวิทยาลัย และดูรายละเอียดต่างๆในหลักสูตร ได้จาก HTTP://WWW.MSU.AC.TH/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น