วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

เลนส์แต่ละประเภท สำหรับกล้อง DSLR

เลนส์ถ่ายภาพ 
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในกล้องถ่ายภาพเลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกล้องถ่ายภาพ กล้องที่มีคุณภาพดี เลนส์จะมีราคาแพงต้องระวังรักษาอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การที่ภาพจะเกิดบนฟิล์มได้ต้องผ่านกระบวนการร่วมแสงจากเลนส์ก่อน 

ความสำคัญของเลนส์ 

เลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกชนิดดี มีลักษณะกลมผิวเรียบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เลนส์โค้ง และเลนส์เว้า เลนส์จะประกอบอยู่ที่ส่วนหน้าของตัวกล้อง ในการถ่ายภาพหลายลักษณะ จำเป็นต้องเลือกเลนส์เพื่อที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานที่ต้องการ เลนส์จึงมีหลายแบบ แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวเพื่อให้เลือกใช้ แต่ก่อนที่จะรู้จักกับลักษณะของเลนส์ และคุณสมบัติของเลนส์แต่ละแบบ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงเรื่องความยาวโฟกัสของเลนส์ 


ความยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal length ) 
หมายถึง ระยะทางที่วัดจากจุดศูนย์กลางของเลนส์ถึงแผ่นฟิล์มที่อยู่ในกล้อง ในขณะที่เลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ที่ Infinity ซึ่งจะมีหน่วยวัดความยาวโฟกัสของเลนส์นี้เป็นมิลลิเมตร การทำงานของเลนส์มาจากหลักการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุแล้วเกิดการหักเห ซึ่งวัตถุที่แสงเดินทางผ่านในที่นี้ก็คือเลนส์ ถ้าแสงเดินทางผ่านเลนส์นูนก็จะเกิดการรวมแสง แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการกระจายแสง 
ในการถ่ายภาพความยาวโฟกัสจะมีผลสำคัญต่อการถ่ายภาพ คือ ทำให้มุมของการถ่ายภาพกว้างขึ้นหรือแคบลงได้ หรือก็คือการเลือกขนาดของภาพว่าจะครอบคลุมอาณาบริเวณที่ต้องการได้มากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงความชัดลึกของภาพ ( Depth of Field ) อีกด้วย ความยาวโฟกัสของเลนส์ยิ่งยาวมากความลึกของระยะชัดยิ่งน้อย และถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากความลึกของระยะชัดของภาพก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็มิใช่แต่เฉพาะความยาวโฟกัสของเลนส์เท่านั้นที่มีผลต่อความชัดลึกของภาพ ขนาดรูรับแสงของเลนส์ ( Aperture ) ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อความชัดลึกของภาพ การปรับขนาดรูรับแสงให้เล็กจะทำให้ภาพมีระยะชัดลึกมากขึ้น 
ขนาดของรูรับแสงเราสามารถจะปรับได้ที่ตัวเลข f/number ที่เราเห็นกันอยู่ที่รอบ ๆ เลนส์ที่ตัวกล้อง เช่น f / 1.5 / 2 / 2.8 / 4 / 5.6 / 8 / 11 / 16 ในระหว่างตัวเลขหนึ่ง ๆ เรียกว่า " สต๊อฟ " ( Stop ) ซึ่งโดยปกติจะแบ่งขนาดไว้เป็นสองเท่าของอีกสต๊อฟหนึ่ง ขนาดของรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านน้อยที่สุดตัวเลขจะมากที่สุด จากที่ยกตัวอย่างคือ F / 16 และขนาดของรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านมากที่สุดคือ f / 1.5

ประเภทของเลนส์ 
จากคุณสมบัติต่าง ๆ ของเลนส์ที่กล่าวมาแล้ว จึงพอจะแบ่งเลนส์ออกตามคุณสมบัติของเลนส์ได้ดังนี้ คือ 
1. เลนส์มาตรฐาน ( Standard Lens ) หมายถึง เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพตามสถานที่มองเห็นทั่วไป โดยไม่หวังผลพิเศษอะไร เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์หรือภาพทั่ว ๆ ไป เลนส์มาตรฐานที่ติดมากับกล้องโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะมีความยาวโฟกัส 50 มิลลิเมตร 
2. เลนส์มุมกว้าง ( Wide - angle Lens ) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน หรือเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น การใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพจึงครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าเลนส์ทั่วไป และยังได้ระยะชัดลึกตลอดทั้งภาพ คือชัดตั้งแต่ระยะใกล้ไปจนถึงไกลสุด แต่ภาพที่ได้จะมีความผิดเพี้ยนในเรื่องของขนาดของภาพวัตถุที่ถ่าย เนื่องจากสิ่งที่อยู่ใกล้จะใหญ่ขึ้นไม่ได้สัดส่วนกับส่วนที่อยู่ไกล เลนส์มุมกว้างส่วนใหญ่จะใช้ถ่ายในสถานที่ที่จำกัด ที่ไม่สามารถจะตั้งกล้องให้ห่างจากวัตถุที่ต้องการถ่ายได้มากนัก เช่น การเก็บภาพสิ่งก่อสร้างสูง ๆ ที่ต้องการให้อยู่ในภาพทั้งหมด แต่ไม่สามารถจะหามุมได้ เพราะติดสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพง แม่น้ำ ฯลฯ เป็นต้น 
3. เลนส์ถ่ายไกล ( Telephoto Lens ) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่าเลนส์มาตรฐาน จึงครอบคลุมพื้นที่การถ่ายได้น้อยกว่า อาจเรียกเลนส์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า เลนส์มุมแคบ ( Narrow angle Lens) ข้อดีของเลนส์ถ่ายไกลก็คือ สามารถที่จะถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ได้เสมือนว่าวัตถุนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ คือ ขยายภาพที่อยู่ไกลให้ชัดขึ้นนั่นเอง ภาพในลักษณะนี้เช่น การถ่ายภาพสัตว์ป่า การถ่ายภาพการแข่งขันกีฬา ฯลฯ เลนส์ถ่ายไกลยังอาจจะแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ เลนส์ถ่ายไกลชนิดปานกลาง 
( Medium telephoto lenses ) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 75 - 200 มิลลิเมตร และเลนส์ถ่ายไกลชนิดพิเศษ ( Special long telephoto lenses ) จะเป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 250 มิลลิเมตร ขึ้นไป 
4. เลนส์ตาปลา ( Fisheye Lens ) เป็นเลนส์ที่มีลักษณะคล้ายตาของปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ กินมุมในระยะถ่ายภาพได้กว้างมากถึง 180 องศา มากกว่าเลนส์ทุกชนิด จึงมีช่วงความชัดลึกมากกว่าเลนส์อื่น เลนส์ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการภาพในลักษณะพิเศษที่ผิดไปจากภาพอื่น ๆ เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น เพราะเลนส์ชนิดนี้สามารถจะให้ภาพขนาดสี่เหลี่ยมเต็มขนาดฟิล์ม หรือให้ภาพเป็นวงกลมบนฟิล์มได้ วัตถุที่ถูกถ่ายจะมีขนาดใหญ่มาก 
5. เลนส์ซูม ( Zoon Lens ) เป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้หลายค่าในตัวเดียวกัน คือ เป็นทั้งเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์ถ่ายไกล ในตัวเดียวกัน ฉะนั้นจึงเป็นเลนส์ที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ ผู้ใช้จึงมีความสะดวกสบายกว่าไม่ต้องเคลื่อนย้ายหาตำแหน่งในการถ่ายภาพมากนัก แต่เลนส์ซูมก็มีข้อด้อย คือ มีน้ำหนักมาก เพราะประกอบด้วยชุดของเลนส์มากกว่าตัวเดียว ช่อง 
รูรับแสงที่กว้างสุดของเลนส์ซูมยังแคบกว่าเลนส์ความยาวโฟกัสเดียว และอาจเกิดปัญหาภาพผิดสัดส่วนได้มากกว่า โดยเฉพาะบริเวณขอบภาพ 
6. เลนส์มาโคร ( Macro Lens ) เป็นเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุขนาดเล็กมาก ๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นได้คล้ายกับเลนส์ถ่ายใกล้ แต่เลนส์มาโครนี้เป็นเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้มาก ๆ ประมาณ 1 - 1. 5 ฟุต 
บางทีเรียกว่า เลนส์ไมโคร ( Micro Lens ) ก็มี 
นอกจากเลนส์ทั้ง 6 ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันได้มีการผลิตเลนส์เพื่อสนองการทำงานขึ้นมาอย่างหลากหลายชนิด เช่น เลนส์ถ่ายภาพนุ่มนวล ( Soft focus Lens ) เลนส์มิเรอร์ ( Mirror Lens ) เลนส์วีเอฟซี ( VFC : Variable Field Curvature Lens ) ฉะนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษาคุณสมบัติของเลนส์แต่ละชนิดให้ดี เพื่อจะได้ผลของงานตามต้องการ 
ึ7. เลนส์ fixed จะเป็นลักษณะของเลนส์ ซึ่ง Focal Length จะคงที่ หรือเรียกภาษาชาวบ้านคือเลนส์ ช่วงเดียว ไม่สามารถซูมเข้า ซูมออกได้ถ้าอยากจะซูม หรือให้ภาพกว้างขึ้นก็ เดินหน้า ถอยหลังเอาเอง คุณสมบัติเด่นของเลนส์ fixed คือภาพถ่ายที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่าเลนส์ช่วงปกติ ค่ารูรับแสงจะมีมากกว่า เลนส์ทั่วๆไป ซึ่งเลนส์ทั่วไป จะมี F3.5 แต่เลนส์ Fixed ส่วนใหญ่แล้วกว้างถึง F/1.2 1.4 1.8 เลยที่เดียว 
ข้อดีของรูรับแสงกว้าง คือ รูรับแสงจะเปิดช่องรับแสงเข้ามามาก รูรับแสงยิ่งกว้างแสงก็ยิ่งเข้ามา ซึ่งจะทำให้ชัตเตอร์นั้น เร็วขึ้นและข้อดีของรูรับแสง อีกก็คือ ฉากหลังจะละลายเบลอสวยมาก ทำให้ภาพวัตถุที่ถ่ายนั้นเด่นสวยขึ้นมาทันที

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java

คำนวณยอดชำระค่าน้ำประปา โดยมีเงื่อนไขดังนี้1 - 50 หน่วย คิดหน่วยละ 4.25 บาท51 - 100 หน่วย คิดหน่วยละ 3.25 บาทตั้งแต่ 101 หน่วยขึ้นไป คิดหน่วยละ 2.25 บาท


import java.util.Scanner;

public class Water {
  public static void main(String[] args) {
    Scanner Scan = new Scanner(System.in);
    
    int Water = 0;
    double Total = 0;

      
      
    System.out.print(" ป้อนจำนวนที่ใช้น้ำ(ต่อหน่วย) :  ");
      Water = Scan.nextInt();
      
      if ( Water <= 50) {
       Total =  Water  * 4.25;
      } else if (Water <= 100) {
       Total =  Water  *  3.25;
      } else {
       Total =  Water  *  2.25;
      }
        
    System.out.println(" ======================== ");    
    System.out.println("      ค่าน้ำ: " + Total + " บาท ");
    System.out.println(" ======================== ");
  }
}

___________________________________________________________________________________
บริษัทแห่งหนึ่งผลิตสินค้าส่งออกได้ 2000 ชิ้นต่อปี ในแต่ละปีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นปีละ 365 ชิ้น 

ให้คำนวณและแสดงผลลัพธ์ว่าใช้เวลากี่ปีบริษัทแห่งนี้จึงจะผลิตสินค้าได้มากกว่า 5000 ชิ้นต่อปี



public class Production {
  public static void main (String[] args) {
     int product = 2000;
     int year = 0;
     while (product <= 5000) {
        product = product + 365;
        year++;
        System.out.println("ปีที่ = " + year);
        System.out.println("สินค้าส่งออก = " + product);
     }
     System.out.println("ใช้เวลาทั้งหมด = " + year + " ปี ");
  }
}

จงคำนวณค่าจอดรถ โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้ ถ้าจอดน้อยกว่า 2 ชั่วโมงไม่คิดค่าจอดรถ 
ถ้าจอดรถน้อยกว่า 6 ชั่วโมงคิดค่าจอดรถ 20 บาท 
ถ้าจอดรถ 6 ชั่วโมงขึ้นไปคิดค่าจอดรถ 50 บาท




import java.util.Scanner;
public class Work29 {
  public static void main(String[] args) {
     int hour = 0, price = 0;
     Scanner Scan = new Scanner(System.in);
     System.out.print("จำนวนชั่วโมง = ");
     hour = Scan.nextInt();
     if (hour < 2){
       price = 0;
        System.out.println("ไม่เสียค่าจอดรถ");
     }else if (hour < 6){
       price = 20;
        System.out.println("ค่าจอดรถ = " + price+ " บาท ");
     }else{
        price = 50;
        System.out.println("ค่าจอดรถ = " + price + " บาท ");
     }

  }
}



หาราคาค่าเช่าห้องพักโดยคิดวันละ 500 บาทต่อจากราคาห้องพัก โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้ 
ถ้าพักไม่เกิน 5 วัน จะไม่มีส่วนลด
ถ้าพัก 5-8 วัน จะมีส่วนลด 5%
แต่ถ้าพักมากกว่า 8 วันขึ้นไปจะมีส่วนลด 10%


import java.util.Scanner;
public class Room {
  public static void main(String[] args) {
     int rest = 0, price = 500;
     int discount = 0, net = 0;
     Scanner oj = new Scanner(System.in);
     System.out.print("จำนวนวันที่เข้าพัก = ");
     rest = oj.nextInt();
     if (rest < 5)
        {
        price = price * rest;
        net = price;
        }
     else if (rest  <= 8)
        {
        price = price * rest;
        discount = price *5 / 100;
        net = price-discount;
        }
     else
        {
        price = price * rest;
        discount = price * 10 / 100;
        net = price-discount;
        }
       
        System.out.println("ค่าเช่า= " + net + "บาท");
  }