วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

เลนส์แต่ละประเภท สำหรับกล้อง DSLR

เลนส์ถ่ายภาพ 
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในกล้องถ่ายภาพเลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกล้องถ่ายภาพ กล้องที่มีคุณภาพดี เลนส์จะมีราคาแพงต้องระวังรักษาอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การที่ภาพจะเกิดบนฟิล์มได้ต้องผ่านกระบวนการร่วมแสงจากเลนส์ก่อน 

ความสำคัญของเลนส์ 

เลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกชนิดดี มีลักษณะกลมผิวเรียบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เลนส์โค้ง และเลนส์เว้า เลนส์จะประกอบอยู่ที่ส่วนหน้าของตัวกล้อง ในการถ่ายภาพหลายลักษณะ จำเป็นต้องเลือกเลนส์เพื่อที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานที่ต้องการ เลนส์จึงมีหลายแบบ แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวเพื่อให้เลือกใช้ แต่ก่อนที่จะรู้จักกับลักษณะของเลนส์ และคุณสมบัติของเลนส์แต่ละแบบ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงเรื่องความยาวโฟกัสของเลนส์ 


ความยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal length ) 
หมายถึง ระยะทางที่วัดจากจุดศูนย์กลางของเลนส์ถึงแผ่นฟิล์มที่อยู่ในกล้อง ในขณะที่เลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ที่ Infinity ซึ่งจะมีหน่วยวัดความยาวโฟกัสของเลนส์นี้เป็นมิลลิเมตร การทำงานของเลนส์มาจากหลักการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุแล้วเกิดการหักเห ซึ่งวัตถุที่แสงเดินทางผ่านในที่นี้ก็คือเลนส์ ถ้าแสงเดินทางผ่านเลนส์นูนก็จะเกิดการรวมแสง แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการกระจายแสง 
ในการถ่ายภาพความยาวโฟกัสจะมีผลสำคัญต่อการถ่ายภาพ คือ ทำให้มุมของการถ่ายภาพกว้างขึ้นหรือแคบลงได้ หรือก็คือการเลือกขนาดของภาพว่าจะครอบคลุมอาณาบริเวณที่ต้องการได้มากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงความชัดลึกของภาพ ( Depth of Field ) อีกด้วย ความยาวโฟกัสของเลนส์ยิ่งยาวมากความลึกของระยะชัดยิ่งน้อย และถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากความลึกของระยะชัดของภาพก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็มิใช่แต่เฉพาะความยาวโฟกัสของเลนส์เท่านั้นที่มีผลต่อความชัดลึกของภาพ ขนาดรูรับแสงของเลนส์ ( Aperture ) ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อความชัดลึกของภาพ การปรับขนาดรูรับแสงให้เล็กจะทำให้ภาพมีระยะชัดลึกมากขึ้น 
ขนาดของรูรับแสงเราสามารถจะปรับได้ที่ตัวเลข f/number ที่เราเห็นกันอยู่ที่รอบ ๆ เลนส์ที่ตัวกล้อง เช่น f / 1.5 / 2 / 2.8 / 4 / 5.6 / 8 / 11 / 16 ในระหว่างตัวเลขหนึ่ง ๆ เรียกว่า " สต๊อฟ " ( Stop ) ซึ่งโดยปกติจะแบ่งขนาดไว้เป็นสองเท่าของอีกสต๊อฟหนึ่ง ขนาดของรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านน้อยที่สุดตัวเลขจะมากที่สุด จากที่ยกตัวอย่างคือ F / 16 และขนาดของรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านมากที่สุดคือ f / 1.5

ประเภทของเลนส์ 
จากคุณสมบัติต่าง ๆ ของเลนส์ที่กล่าวมาแล้ว จึงพอจะแบ่งเลนส์ออกตามคุณสมบัติของเลนส์ได้ดังนี้ คือ 
1. เลนส์มาตรฐาน ( Standard Lens ) หมายถึง เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพตามสถานที่มองเห็นทั่วไป โดยไม่หวังผลพิเศษอะไร เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์หรือภาพทั่ว ๆ ไป เลนส์มาตรฐานที่ติดมากับกล้องโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะมีความยาวโฟกัส 50 มิลลิเมตร 
2. เลนส์มุมกว้าง ( Wide - angle Lens ) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน หรือเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น การใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพจึงครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าเลนส์ทั่วไป และยังได้ระยะชัดลึกตลอดทั้งภาพ คือชัดตั้งแต่ระยะใกล้ไปจนถึงไกลสุด แต่ภาพที่ได้จะมีความผิดเพี้ยนในเรื่องของขนาดของภาพวัตถุที่ถ่าย เนื่องจากสิ่งที่อยู่ใกล้จะใหญ่ขึ้นไม่ได้สัดส่วนกับส่วนที่อยู่ไกล เลนส์มุมกว้างส่วนใหญ่จะใช้ถ่ายในสถานที่ที่จำกัด ที่ไม่สามารถจะตั้งกล้องให้ห่างจากวัตถุที่ต้องการถ่ายได้มากนัก เช่น การเก็บภาพสิ่งก่อสร้างสูง ๆ ที่ต้องการให้อยู่ในภาพทั้งหมด แต่ไม่สามารถจะหามุมได้ เพราะติดสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพง แม่น้ำ ฯลฯ เป็นต้น 
3. เลนส์ถ่ายไกล ( Telephoto Lens ) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่าเลนส์มาตรฐาน จึงครอบคลุมพื้นที่การถ่ายได้น้อยกว่า อาจเรียกเลนส์ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า เลนส์มุมแคบ ( Narrow angle Lens) ข้อดีของเลนส์ถ่ายไกลก็คือ สามารถที่จะถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ได้เสมือนว่าวัตถุนั้นเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ คือ ขยายภาพที่อยู่ไกลให้ชัดขึ้นนั่นเอง ภาพในลักษณะนี้เช่น การถ่ายภาพสัตว์ป่า การถ่ายภาพการแข่งขันกีฬา ฯลฯ เลนส์ถ่ายไกลยังอาจจะแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ เลนส์ถ่ายไกลชนิดปานกลาง 
( Medium telephoto lenses ) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 75 - 200 มิลลิเมตร และเลนส์ถ่ายไกลชนิดพิเศษ ( Special long telephoto lenses ) จะเป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 250 มิลลิเมตร ขึ้นไป 
4. เลนส์ตาปลา ( Fisheye Lens ) เป็นเลนส์ที่มีลักษณะคล้ายตาของปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ กินมุมในระยะถ่ายภาพได้กว้างมากถึง 180 องศา มากกว่าเลนส์ทุกชนิด จึงมีช่วงความชัดลึกมากกว่าเลนส์อื่น เลนส์ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการภาพในลักษณะพิเศษที่ผิดไปจากภาพอื่น ๆ เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น เพราะเลนส์ชนิดนี้สามารถจะให้ภาพขนาดสี่เหลี่ยมเต็มขนาดฟิล์ม หรือให้ภาพเป็นวงกลมบนฟิล์มได้ วัตถุที่ถูกถ่ายจะมีขนาดใหญ่มาก 
5. เลนส์ซูม ( Zoon Lens ) เป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้หลายค่าในตัวเดียวกัน คือ เป็นทั้งเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์ถ่ายไกล ในตัวเดียวกัน ฉะนั้นจึงเป็นเลนส์ที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ ผู้ใช้จึงมีความสะดวกสบายกว่าไม่ต้องเคลื่อนย้ายหาตำแหน่งในการถ่ายภาพมากนัก แต่เลนส์ซูมก็มีข้อด้อย คือ มีน้ำหนักมาก เพราะประกอบด้วยชุดของเลนส์มากกว่าตัวเดียว ช่อง 
รูรับแสงที่กว้างสุดของเลนส์ซูมยังแคบกว่าเลนส์ความยาวโฟกัสเดียว และอาจเกิดปัญหาภาพผิดสัดส่วนได้มากกว่า โดยเฉพาะบริเวณขอบภาพ 
6. เลนส์มาโคร ( Macro Lens ) เป็นเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุขนาดเล็กมาก ๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นได้คล้ายกับเลนส์ถ่ายใกล้ แต่เลนส์มาโครนี้เป็นเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้มาก ๆ ประมาณ 1 - 1. 5 ฟุต 
บางทีเรียกว่า เลนส์ไมโคร ( Micro Lens ) ก็มี 
นอกจากเลนส์ทั้ง 6 ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันได้มีการผลิตเลนส์เพื่อสนองการทำงานขึ้นมาอย่างหลากหลายชนิด เช่น เลนส์ถ่ายภาพนุ่มนวล ( Soft focus Lens ) เลนส์มิเรอร์ ( Mirror Lens ) เลนส์วีเอฟซี ( VFC : Variable Field Curvature Lens ) ฉะนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษาคุณสมบัติของเลนส์แต่ละชนิดให้ดี เพื่อจะได้ผลของงานตามต้องการ 
ึ7. เลนส์ fixed จะเป็นลักษณะของเลนส์ ซึ่ง Focal Length จะคงที่ หรือเรียกภาษาชาวบ้านคือเลนส์ ช่วงเดียว ไม่สามารถซูมเข้า ซูมออกได้ถ้าอยากจะซูม หรือให้ภาพกว้างขึ้นก็ เดินหน้า ถอยหลังเอาเอง คุณสมบัติเด่นของเลนส์ fixed คือภาพถ่ายที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่าเลนส์ช่วงปกติ ค่ารูรับแสงจะมีมากกว่า เลนส์ทั่วๆไป ซึ่งเลนส์ทั่วไป จะมี F3.5 แต่เลนส์ Fixed ส่วนใหญ่แล้วกว้างถึง F/1.2 1.4 1.8 เลยที่เดียว 
ข้อดีของรูรับแสงกว้าง คือ รูรับแสงจะเปิดช่องรับแสงเข้ามามาก รูรับแสงยิ่งกว้างแสงก็ยิ่งเข้ามา ซึ่งจะทำให้ชัตเตอร์นั้น เร็วขึ้นและข้อดีของรูรับแสง อีกก็คือ ฉากหลังจะละลายเบลอสวยมาก ทำให้ภาพวัตถุที่ถ่ายนั้นเด่นสวยขึ้นมาทันที

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java

คำนวณยอดชำระค่าน้ำประปา โดยมีเงื่อนไขดังนี้1 - 50 หน่วย คิดหน่วยละ 4.25 บาท51 - 100 หน่วย คิดหน่วยละ 3.25 บาทตั้งแต่ 101 หน่วยขึ้นไป คิดหน่วยละ 2.25 บาท


import java.util.Scanner;

public class Water {
  public static void main(String[] args) {
    Scanner Scan = new Scanner(System.in);
    
    int Water = 0;
    double Total = 0;

      
      
    System.out.print(" ป้อนจำนวนที่ใช้น้ำ(ต่อหน่วย) :  ");
      Water = Scan.nextInt();
      
      if ( Water <= 50) {
       Total =  Water  * 4.25;
      } else if (Water <= 100) {
       Total =  Water  *  3.25;
      } else {
       Total =  Water  *  2.25;
      }
        
    System.out.println(" ======================== ");    
    System.out.println("      ค่าน้ำ: " + Total + " บาท ");
    System.out.println(" ======================== ");
  }
}

___________________________________________________________________________________
บริษัทแห่งหนึ่งผลิตสินค้าส่งออกได้ 2000 ชิ้นต่อปี ในแต่ละปีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นปีละ 365 ชิ้น 

ให้คำนวณและแสดงผลลัพธ์ว่าใช้เวลากี่ปีบริษัทแห่งนี้จึงจะผลิตสินค้าได้มากกว่า 5000 ชิ้นต่อปี



public class Production {
  public static void main (String[] args) {
     int product = 2000;
     int year = 0;
     while (product <= 5000) {
        product = product + 365;
        year++;
        System.out.println("ปีที่ = " + year);
        System.out.println("สินค้าส่งออก = " + product);
     }
     System.out.println("ใช้เวลาทั้งหมด = " + year + " ปี ");
  }
}

จงคำนวณค่าจอดรถ โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้ ถ้าจอดน้อยกว่า 2 ชั่วโมงไม่คิดค่าจอดรถ 
ถ้าจอดรถน้อยกว่า 6 ชั่วโมงคิดค่าจอดรถ 20 บาท 
ถ้าจอดรถ 6 ชั่วโมงขึ้นไปคิดค่าจอดรถ 50 บาท




import java.util.Scanner;
public class Work29 {
  public static void main(String[] args) {
     int hour = 0, price = 0;
     Scanner Scan = new Scanner(System.in);
     System.out.print("จำนวนชั่วโมง = ");
     hour = Scan.nextInt();
     if (hour < 2){
       price = 0;
        System.out.println("ไม่เสียค่าจอดรถ");
     }else if (hour < 6){
       price = 20;
        System.out.println("ค่าจอดรถ = " + price+ " บาท ");
     }else{
        price = 50;
        System.out.println("ค่าจอดรถ = " + price + " บาท ");
     }

  }
}



หาราคาค่าเช่าห้องพักโดยคิดวันละ 500 บาทต่อจากราคาห้องพัก โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้ 
ถ้าพักไม่เกิน 5 วัน จะไม่มีส่วนลด
ถ้าพัก 5-8 วัน จะมีส่วนลด 5%
แต่ถ้าพักมากกว่า 8 วันขึ้นไปจะมีส่วนลด 10%


import java.util.Scanner;
public class Room {
  public static void main(String[] args) {
     int rest = 0, price = 500;
     int discount = 0, net = 0;
     Scanner oj = new Scanner(System.in);
     System.out.print("จำนวนวันที่เข้าพัก = ");
     rest = oj.nextInt();
     if (rest < 5)
        {
        price = price * rest;
        net = price;
        }
     else if (rest  <= 8)
        {
        price = price * rest;
        discount = price *5 / 100;
        net = price-discount;
        }
     else
        {
        price = price * rest;
        discount = price * 10 / 100;
        net = price-discount;
        }
       
        System.out.println("ค่าเช่า= " + net + "บาท");
  }

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Authentication vs Authorization ต่างกันยังไง

ในระยะหลังนี่ทุก ๆ คนน่าจะเคยเห็นการทำ Authentication กับการทำ Authorization ในรูปแบบต่าง ๆ นะครับ สองคำนี้เป็นคอนเซ็พท์พื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยในระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ แต่น่าเศร้าคือขนาดคนที่ทำงานในสายงานด้านนี้กลับไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันต่างกันยังไง น่าเศร้านะว่าไหม
วันนี้จะพูดถึงสั้น ๆ เรื่องของสองคำนี้และความสำคัญของมันนะครับ

Authentication

Authentication คือการยืนยันตัวตน ก็คือการบอกว่าคนที่กำลังจะเข้ามาในระบบนั้นคือใคร และเป็นคนๆ นั้นจริงหรือเปล่า
หลาย ๆ คนคงคิดว่า แค่มี ID (Identification - วัตถุที่ระบุตัว เช่นบัตรประจำตัว) ก็น่าจะเรียกว่าเป็นตัวจริงได้แล้ว แต่บางครั้งคนที่มี ID ก็ไม่ใช่ตัวจริงเสมอไป เช่นผมอาจจะเอาบัตรประชาชนของพี่ชาย (ที่หน้าตาเหมือนกันยังกับแกะ) ไปใช้ทำอะไรอะไรในชื่อของพี่ชายก็ได้ตราบใดที่เขาไม่ทำ Authentication กับผม เพราะผมคงไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปยืนยันตัวว่าเป็นตัวจริง
การทำ Authentication นั้นส่วนใหญ่จะต้องใช้รหัสที่เป็นที่รู้กันแค่ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ หรือที่เรียกกันว่ารหัสผ่าน (password) สำหรับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงกว่านั้นจะมีการใช้สิ่งที่เรียกว่า 2-factor authentication หรือการยืนยันตัวโดยใช้วัตถุสองชนิด ที่เราพบกันบ่อย ๆ ก็คือ OTP (One Time Password) ที่ส่งมาทาง SMS หรือ E-Mail ส่วนระบบที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่า OTP จะใช้ Authentication Token ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำหน้าสร้างรหัสผ่านชุดที่สองและจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามเวลาที่กำหนด (ตัวที่ผมใช้อยู่จะเปลี่ยนรหัสไปทุก ๆ 1 นาทีครับ)
หลาย ๆ คนคงคิดว่า การใช้ลายนิ้วมือ หรือการแสกนลายม่านตานั้นเป็นการทำ Authentication ในความเป็นจริงทั้งสองอย่างนั้นเป็นแค่ ID ซึ่งใช้ระบุตัวตนเท่านั้น แต่ไม่สามารถยืนยันได้ สาเหตุเพราะว่าเราสามารถที่จะคัดลอกลายนิ้วมือได้ หรือแม้กระทั่งขโมยลูกตาได้ (โหดไหม :)) ดังนั้นมันจึงไม่ได้ปลอดภัยเท่าไหร่
สิ่งที่สำคัญสำหรับ Authentication คือการใช้วัตถุมากกว่า 1 ชิ้นในการระบุตัวครับ ซึ่งเราต้องมีทั้ง ID และวัตถุอื่น ๆ อย่างเช่นรหัสผ่าน เพราะแค่ ID นั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเขาคนนั้นเป็นตัวจริงหรือเปล่า

Authorization

Authorization เป็นการมอบสิทธิให้กับผู้ใช้ คือก่อนที่ผู้ใช้สักคนจะทำอะไรได้จะต้องได้รับสิทธิในการกระทำนั้น ๆ ก่อนน่ะครับ ดังที่เราน่าจะเคยเห็นประตูที่เขียนว่า Authorized Person only หรือเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
โดยทั่วไปก่อนจะมอบสิทธิให้ใครได้เราต้องรู้ก่อนว่าคนคนนั้นคือใคร (ผ่านการทำ Authentication) แต่จริง ๆ ก่อนที่จะทำ Authentication เราสามารถมอบสิทธิบางอย่างให้ผู้ใช้ไปเลยก็ได้ ก็คือการมองว่าคนที่ยังไม่ได้ Authenticate นั้นเป็นคนที่มีสิทธิในการกระทำอะไรบางอย่างที่จำกัดมาก ๆ หรืออาจจะมองว่าเป็น Guest ก็ได้ แล้วหลังจากนั้นเมื่อผู้ใช้ยืนยันตัวเองแล้วค่อยมอบสิทธิระดับสูงกว่าให้กับคนคนนั้นต่อไป
ปล. สองคำนี้สามารถย่อสั้น ๆ เป็นการทำ Auth ได้ทั้งคู่ แปลกไหมครับ ? โดยทั่วไป Auth มักจะหมายถึง Authentication ครับ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

IBM แจกฟรี e-Book เรื่อง Flash Array Deployment for Dummies ศึกษาเทคโนโลยี Flash Array ก่อนลงทุน

All Flash Array กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในทุกวันนี้ IBM ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิต All Flash Array ชั้นนำของโลกจึงได้แจกฟรี e-Book ภายใต้หัวข้อ Flash Array Deployment for Dummies ให้เราได้ศึกษากันก่อนทำการพิจารณาหรือทำการลงทุนในเทคโนโลยีที่ถือว่ายังใหม่มากก่อนนั่นเอง ภายในเล่มนี้มีเนื้อหาด้วยกัน 5 บท ดังนี้

for_dummies


  • Learning Why Data Storage Performance Matter เรียนรู้กรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการ Storage ที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วสูง
  • Getting to Know Flash Storage Systems ทำความรู้จักกับ Flash Storage รูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ SSD, SAN, PCI-e SSD และ All Flash Array
  • Choosing Flash Storage Array ศึกษาแนวทางการเลือกพิจารณา All Flash Array
  • Exploring Deployment Designs with IBM FlashSystem เรียนรู้การออกแบบและการติดตั้ง IBM FlashSystem
  • Implementing the Future with Virtualized Storage เรียนรู้เทคโนโลยี Virtualized Storage เพื่อต่อยอดจากระบบ All Flash Array ต่อไปในอนาคต
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถ Download e-Book เล่มนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่http://public.dhe.ibm.com/common/ssi/ecm/ts/en/tsm03026usen/TSM03026USEN.PDF

Qualys แจกฟรี e-Book เรื่อง Vulnerability Management for Dummies จัดการอุดช่องโหว่ให้ดีก่อนถูกโจมตี


for_dummies



สำหรับผู้ดูแลระบบที่กำลังมองหาวิธีการจัดการกับช่องโหว่ของระบบต่างๆ ในองค์กร การเริ่มต้นศึกษาแนวคิดของการทำ Vulnerability Management ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทาง Qualys ผู้นำด้านระบบตรวจสอบช่องโหว่จึงได้แจก e-Book ฟรีๆ สำหรับการทำ Vulnerability Management for Dummies เอาไว้ที่ https://www.qualys.com/forms/ebook/vulnerability_management_dummies/ ให้ได้ Download ไปอ่านกันได้เลยครับ โดยภายใน e-Book จะประกอบไปด้วย
  • ความสำคัญของการทำ Vulnerability Managment (VM)
  • อธิบายขั้นตอนในการทำ Vulnerability Management ให้ประสบความสำเร็จ
  • ทางเลือกในการทำ Vulnerability Management แต่ละวิธี พร้อมข้อดีข้อเสีย
  • โซลูชั่น Qualys Vulnerability Management
  • ประโยชน์ของการตรวจสอบช่องโหว่โดยอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง
  • เช็คลิสต์ 10 ข้อในการจัดการช่องโหว่ในระบบ

ประกาศอย่างเป็นทางการ: อเมริกาเหนือไม่เหลือ IPv4 ให้ใช้แล้ว

2 เดือนก่อน American Registry for Internet Numbers (ARIN) ผู้รับผิดชอบการแจกจ่ายหมายเลข IP ให้แก่ แคนาดา สหรัฐฯ และหมู่เกาะในแถบคาริบเบียน รวมไปถึงแอตแลนติคเหนือ ได้ออกมาระบุว่า ไม่สามารถผลิตหมายเลข IPv4 ให้แก่ทวีปอเมริกาเหนืออีกต่อไป และในตอนนี้ ก็มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า หมายเลข IPv4 ที่ยังว่างอยู่ได้ถูกใช้จนหมดเรียบร้อยแล้ว กล่าวอีกอย่างคือ จะไม่มีหมายเลข IPv4 ใหม่ให้แก่ผู้ที่ร้องขออีกต่อไป
สำหรับผู้ที่ต้องการร้องขอ IPv4 สามารถได้รับหมายเลข IP จาก 2 ทาง คือ
  1. Wait List for Unmet IPv4 Requests: รอ (อย่างมีความหวัง) จนกว่าจะมีการจัดสรรหมายเลข IPv4 ชุดใหม่ออกมา
  2. IPv4 Transfer Market: ซื้อหมายเลข IPv4 จากองค์กรที่มีหมายเลข IP เหลืออยู่ หรือมีมากเกินพอ
ในกรณีที่รอ หมายเลข IPv4 ชุดใหม่จะพร้อมจัดสรรให้ก็ต่อเมื่อ ARIN
  • ได้รับชุดหมายเลข IPv4 จาก IANA (Internet Assigned Numbers Authority)
  • มีการยกเลิกหรือคืนหมายเลข IPv4 จากผู้ที่ใช้งานอยู่

นั่นกล่าวได้ว่า เรากำลังเข้าสู่ศักราชแห่ง IPv6

IPv6 ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ 2 ทศวรรษก่อนในปี 1998 โดยมีความยาวถึง 128 บิท (เทียบกับ IPv4 ที่มีความยาว 32 บิท) เช่น FE80:0000:0000:0000:0202:B3FF:FE1E:8329 ส่งผลให้ IPv6 สามารถจัดสรรหมายเลข IP ได้มากถึง 3.4 x 1038หมายเลข ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานได้อีกนานแสนนาน

แบบฝึกหัด บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม






1) " นาย  A  ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP - Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง "
        การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุได และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
         ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีการเผยแพร่ให้ใช้งานจริง ขณะเดียวกันคนที่นำไปใช้คือนาย B ซึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบของนาย A ผู้พัฒนา โดยนำไปแกล้งนางสาว C ความผิดนี้ ถือเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและการนำโปรแกรมในการทดลองไปใช้จริง 
                 ต่อมานางสาว C ก็ถือว่ามีความผิด ที่เผยแพร่โปรแกรมทดลองนี้ต่อไปอีก เป็นการกระจายโปรแกรมออกไปอีก ซึ่งในทางจริยธรรมแล้ว นาย B เป็นคนผิดที่เริ่มนำโปรแกรมไปใช้ก่อน นางสาว C รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงเผยแพร่โปรแกรมออกนั่นเอง ทำให้ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดจริยธรรม

      2) " นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J "
         การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
         ตอบ  การกระทำของนาย J ผิดจริยธรรมตรงที่ทำข้อมูลเท็จหลอกลวงผู้อื่น เป็นการกระทำที่ขาดการยั้งคิด ทำโดยคิดถึงแต่ความสนุกสนานของตนไม่นึกถึงผลที่ตามมา ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กชาย K ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่ได้มีการวิเคราะห์สารที่ได้รับมาก่อน ทำให้ทำงานส่งครูไปแบบผิดๆ การกระทำนี้จึงผิดทั้งสองคน โดยนาย J ที่ทำโดยไม่ยั้งคิด สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น เห็นแก่ตัว ส่วนเด็กชาย K นั้นก็ผิดที่ไม่ได้วิเคราะห์สารที่ได้รับหรือค้นคว้าหาข้อมูลให้ดี จึงถือว่าเด็กชาย K ทำงานโดยสะเพร่าขาดความรอบคอบและไม่รู้จักใช้วิจารณญาณหรือความรู้รอบตัวให้ดีพอส่งผลให้ตนเดือดร้อนทำงานผิดไปส่งครูนั่นเอง  เพราะหากเด็กชาย K หาข้อมูลจากเว็บไซต์หรือเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมก็จะส่งผลให้เกิดข้อแตกต่างและรู้จักสืบค้นหาความข้อเท็จจริงได้ในที่สุด